หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน

หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ

เกิดเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ.2353

อุปสมบท : ไม่ทราบแน่ชัด

สภาณภาพ : มรณภาพ(เมื่อ 20 กันยายน พ.ศ.2464

หลวงพ่อเงิน เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2348 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 10 ปีฉลู สมัยนี้ยังไม่มีการใช้นามสกุล บิดาของหลวงพ่อชื่อว่า “อู๋” เป็นชาวบางคลาน มารดาชื่อ “ฟัก” เป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอแสนตอ (ปัจจุบันคืออําเภอขาณุวรลักษบุรี) จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อเงินมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด 6 คน ดังนี้ คนที่ 1 ชื่อ พรม (ชาย) คนที่ 2 ชื่อ ทับ (หญิง) คนที่ 3 ชื่อ ทอง (ขุนภุมรา) (ชาย) คนที่ 4 ชื่อ เงิน (หลวงพ่อเงิน) (ชาย) คนที่ 5 ชื่อ หล่ำ (ชาย) คนที่ 6 ชื่อ รอด (หญิง) ในปี พ.ศ. 2351 ขณะนั้นหลวงพ่อเงินอายุ 3 ปี นายช่วงซึ่งเป็นลุง ของท่านได้พาไปอยู่กรุงเทพ ฯ ด้วย นายช่วงได้อุปการะเลี้ยงดูหลวงพ่อเงินจนกระทั่งเติบโตมีอายุจะเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร หลังจากนั้นท่านก็ได้เรียนหนังสือที่ วัดชนะสงครามตลอดมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2360 อายุ 12 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมพื้นฐาน พออายุใกล้อุปสมบท ท่านก็ลาสิกขาจากสามเณรเป็นฆราวาส หลังจากลาสิกขาจากสามเณรก็มาอยู่กับพี่ชายและพี่สะใภ้จนมีคู่รัก คนหนึ่งชื่อ “เงิน” เหมือนกับท่าน และแล้ววันหนึ่งหลวงพ่อเงินได้คุยกับพี่สะใภ้ถึงเรื่องการแต่งงาน พี่สะใภ้ก็พูดล้อเล่นว่าอย่าแต่งงานเลยบวชดีกว่า เมื่อได้ยินพี่สะใภ้พูดอย่างนั้นหลวงพ่อเงินจึงขอโทษพี่สะใภ้ขอจับนมพี่สะใภ้ พี่สะใภ้ก็ให้จับแต่โดยดี เมื่อหลวงพ่อเงินจับนมพี่สะใภ้ แล้วก็เอามือมาบีบน่องของตนเอง แล้วก็อุทานว่า “นมกับน่องก็เหมือนกัน” ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงพ่อเงินตัดสินใจอุปสมบทจนกระทั่งมรณภาพ เมื่ออายุครบอุปสมบทท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) และได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดนี้ ในระหว่างอุปสมบทได้ปฏิบัติ ธรรมวินัยและร่ำเรียนวิปัสสนาอยู่ได้ 3 พรรษา ทางบ้านแจ้งข่าวมาว่าปู่ของท่าน ป่วยหนัก จึงให้พี่ชายที่ชื่อทอง นิมนต์หลวงพ่อเงินให้ไปจำพรรษาที่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดญาติโยมพี่น้อง และไปเยี่ยมอาการป่วยไข้ ของโยมปู่ หลวงพ่อเงินจำพรรษาอยู่ที่วัดบางคลานใต้ได้เพียงพรรษาเดียวเท่านั้น ก็ต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่คืออยู่ที่หมู่บ้านวังตะโก เนื่องจากขณะที่ท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางคลานใต้เป็นยุคที่หลวงพ่อโห้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาชอบเล่นแร่แปรธาตุ นอกจากนั้นยังชอบการเทศน์แหล่ชาดกด้วย ในสมัยนั้นพระองค์ไหนเทศน์แหล่ลูกคอดีเสียงดี มีลูกเล่นแพรวพราวด้วยละก็ ชาวบ้านนิยมกันนักหนา ฉะนั้นพระที่สนใจการเทศน์แบบนี้จะต้องมีการฝึกฝนการเทศน์เป็นประจำ เวลาขึ้นธรรมาสน์เทศน์จะได้ไม่ติดขัด หลวงพ่อโห้ก็เฉกเช่นพระนักเทศน์ทั่วไป ยามว่างจากการเล่นแร่แปรธาตุ ต้องส่งเสียงแหล่เป็นประจำทั้งเช้าเย็น ครั้นหลวงพ่อเงินจะไปบอกกล่าวก็ไม่ได้ เพราะตนเองเป็นเพียงพระผู้มาอาศัยเท่านั้น เมื่อเสียงดังเกิดไปรบกวนหลวงพ่อเงินที่กำลังนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ท่านก็เกิดความรำคาญสุดที่จะอดทนได้ จึงคิดจะย้ายออกจากวัดไปหาที่สงบบำเพ็ญเพียร พอออกพรรษาเมื่อรับงานกฐินเสร็จ จัดการรวบรวมเครื่องอัฐบริขารเดินตรงมาที่หน้าโบสถ์ แล้วเข้าไปกราบพระประธาน ตั้งจิตอธิษฐานบอกกล่าวเป็นการอำลาไปอยู่สถานที่แห่งใหม่ เมื่อออกจากโบสถ์มา ก็ตรงไปที่ต้นโพธิ์ใหญ่หน้าโบสถ์พร้อมกับหักกิ่งโพธิ์ติดมือไปด้วย แล้วลงเรือข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งเหนือแถบหมู่บ้านวังตะโก ได้พบสถานที่รกร้างว่างเปล่าแห่งหนึ่งอยู่ริมแม่น้ำ มีความเงียบสงัดเหมาะที่จะบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนา จึงตัดสินใจยึดสถานที่แห่งนี้เป็นที่พำนักอาศัย แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า หากต่อไปในกาลข้างหน้าถ้าสถานที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเป็นดินแดนศาสนาธรรม ก็ขอให้กิ่งโพธิ์ที่นำมาปักจงเจริญงอกงาม ด้วยอานิสงส์บารมีอันยิ่งใหญ่ไพศาล ดลบันดาลให้กิ่งโพธิ์นั้นเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว เป็นที่แปลกใจแก่ชาวบ้านในย่านนั้น เพราะปกติต้นโพธิ์จะปลูกขึ้นด้วยเหตุผลสองประการคือ การปลูกโดยการเพาะเมล็ดและการตอนเท่านั้น การที่หลวงพ่อเงินเข้ามาอยู่ในเขตหมู่บ้านวังตะโกครั้งแรก ชาวบ้านได้มาช่วยท่านปลูกกุฏิให้พักอาศัย โดยการปลูกเป็นเพิงหมาแหงน หลังคามุงหญ้าแฝก ข้างฝาขัดไม้ไผ่ พอที่จะบังแดดบังลมกันฝนได้ก็เพียงพอแก่สมณสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด จากสำนักสงฆ์วังตะโกซึ่งมีหลวงพ่อเงินเพียงองค์เดียวในพรรษาแรก ๆ ต่อมาก็มีพระที่เป็นลูกชาวบ้านจากที่อื่นบวชมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ เพื่อสะดวกแก่ญาติ พี่น้อง ในการทำบุญใส่บาตร เพียงระยะเวลาไม่กี่ปีก็กลายเป็นวัดที่สมบูรณ์แบบ มีทั้งศาลาการเปรียญ โบสถ์ กุฏิสงฆ์ ศาลาหอฉัน โดยชาวบ้านแถวนั้นเรียกนาม วัดแห่งนี้ว่าวัดวังตะโกหรือวัดบางคลานเหนือ ต่อมาวัดวังตะโกได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วัดหิรัญญาราม ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล เนื่องจากหลวงพ่อเงินเต็มไปด้วยความเมตตาอารีแก่บุคคลและสัตว์ทั่ว ๆ ไป ที่วัดของท่านจึงมีบุคคลนำสัตว์มาถวายให้ท่านมิได้ขาด ท่านก็รับเลี้ยงไว้ในวัดของท่านจนกระทั่งวัดแทบจะเป็นสวนสัตว์ สัตว์ที่ชาวบ้านนำมาถวายก็มีช้าง กระทิง หมูป่า เก้ง กวาง ลิง ชะนี นก หมี จระเข้ ชื่อเสียงของหลวงพ่อเงินได้ขจรไปทั่วทุกทิศานุทิศ มีประชาชนเคารพ นับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาดเพื่อถวายตัวเป็นลูกศิษย์ เพื่อขอเครื่องรางของขลัง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เพื่ออาบน้ำมนต์ มีเรื่องเล่าว่าน้ำมนต์ของท่าน ที่ประชาชนอาบไหลลงสู่แม่น้ำไม่ขาดสาย ต่อมาหลวงพ่อเงินได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และได้สมณศักดิ์ เป็นท่านเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนาจารย์ โดยปกติหลวงพ่อเงินมีโรคประจำตัวอยู่ คือ โรคริดสีดวงทวารหนัก ท่านจะเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อท่านมีอายุมากขึ้นประกอบกับต้องอดหลับอดนอน เพราะต้องถ่ายทอดวิชาความรู้ ซึ่งบางคืนท่านไม่ได้นอนเลย จึงทำให้โรคกำเริบ และเป็นพิษมากขึ้น มีอาการทรุดหนักไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ จนวันศุกร์แรม11 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม พ.ศ. 2462 หรือตรงกับวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2462 ท่านจึงมรณภาพด้วยความสงบ รวมอายุได้ 114 ปี การมรณภาพของหลวงพ่อเงินนำความเศร้าโศกเสียใจให้แก่บรรดาศิษย์และผู้ที่เคารพนับถืออย่างมาก บรรยากาศในวัดวังตะโกเงียบเหงา การอาบน้ำศพหลวงพ่อเงินนั้น มีประชาชนหลั่งไหลมาเป็นจำนวนมาก ประชาชนบางคนเอาขันน้ำ ขวดน้ำ ถังน้ำไปรองรับน้ำที่อาบศพอยู่ใต้ถุนศาลาเพื่อนำไปไว้บูชา เพราะถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ นอกจากแย่งน้ำอาบศพแล้วยังมีการแย่งจีวรของหลวงพ่อเงินแบ่งเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพื่อนำไปเป็นของมงคลคงกระพันชาตรี

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

การชำระเงินและการติดต่อ