หลวงปู่ทองดำ ฐิตวณโณ วัดท่าทอง

หลวงปู่ทองดำ ฐิตวณโณ

เกิดเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ.2441

อุปสมบท : 05 พฤษภาคม พ.ศ.2463

สภาณภาพ : มรณภาพ(เมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2548

  • หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง จ.อุตรดิตถ์ ภูมิหลังชาติกำเนิด วันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 พุทธศักราช 2441 ณ.บ้านไซโรงโขน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร นายบุญนาค นางจ่าย แม่พริ้ง ได้ให้กำเนิดบุตรคนที่ 4 เพศชาย(ในจำนวนพี่น้องชายหญิง 8 คน) บิดามารดาได้ตั้งชื่อ เด็กชายทองดำ เม่นพริ้ง วัยเด็ก ขณะเด็กชายทองดำ อายุ 3 ขวบ บิดามารดาได้นำไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร) หลวงพ่อเงินเห็นครั้งแรกได้เอ๋ยคำออกมา “ไอ้หนูเด็กน้อยคนนี้เป็นเทวดามาเกิด ใครเลี้ยงก็ไม่ได้ มาเป็นลูกของเราเถิดนะ” หลวงพ่อเงินเอาผ้าผืนลงปูรองรับเด็กน้อยคนนี้ ทำพิธีรับลูก จากนั้นเด็กคนนี้ได้รับการเลี้ยงดูอุปถัมภ์ สั่งสอน อบรม วิชาความรู้ และสรรพวิชาต่าง ๆ โดยได้พักอาศัยกับหลวงพ่อ เมื่อหลวงพ่อเงิน ท่องบทสวดมนต์เด็กชายทองดำก็สามารถท่องได้จบเล่มในวันเดียว ชาวบ้านรู้ข่าวต่างแห่มาดูการใหญ่ว่าเด็กน้อยคนนี้มีหน้าตาอย่างไร กระทั่งโตขึ้นบิดามารดามารับเด็กชายทองดำไปเล่าเรียนศึกษากับอาจารย์โต (เจ้าอาวาสวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ จ.อุตรดิตถ์ในสมัยนั้น) วัยหนุ่มฉกรรจ์ นายทองดำได้ฝึกฝนและศึกษาศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยจนมีความชำนาญ จนได้เป็นนักมวยที่มีฝีมือดีคนหนึ่ง ซึ่งช่วงวัยหนุ่มนี้ทองดำได้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ “เล็กย่งหลี”(ต้นตระกูลเล็กอุทัย)มีรูปร่างเล็กไปไหนไปด้วยกันประจำ ได้ฝึกชกมวยด้วยกันมา หากออกชกมวยที่ไหนจะให้เล็กย่งหลีขึ้นไปเปรียบหาคู่ชก แต่ตอนเวลาชกนายทองดำจะเป็นผู้ชกแทน ก่อนชกนายทองดำจะบริกรรมคาถาที่ได้ร่ำเรียนมาโยมปู่จนรู้สึกตัวหนา(ของขึ้น)และนายทองดำก็สามารถชกมวยชนะแทบทุกครั้ง อายุครบเกณฑ์ทหาร ได้เข้ารับเป็นทหาร 2 ปี ปลดจากทหารประจำการแล้วจึงได้อุปสมบทสู่ร่มพระศาสนา สู่ร่มพระศาสนา หลวงปู่ทองดำ อุปสมบทเมื่ออายุ 22 ปี ณ. พระอุโบสถ วัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยมีพระครูวิเชียรปัญญามหามุนี (เรือง )เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เจ้าอาวาสวัดท่าถนน ต.ท่าอฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ในขณะนั้นเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2463 พระอาจารย์แส เจ้าอาวาสวัดวังหมู ต.หาดกรวด อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิตวณโณ” เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าทอง 1 พรรษา ทางวัดท่าทอง ต.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง คณะศรัทธา วัดท่าทองได้ลงความเห็นพ้องกัน โดยได้ไปกราบนมัสการเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อขออนุญาตจากเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วยดี คณะศรัทธาให้”พระภิกษุทองดำ” เพื่อนิมนต์ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ซึ่งหลวงพ่อเองก็มีเจตนาอันบริสุทธิ์และจิตใจอันแน่วแน่ต่อพระพุทธศาสนาและเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาทำนุบำรุงเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุงเรืองยิ่งขึ้นสมความตั้งใจ หลวงพ่อจึงรับภารกิจนิมนต์ครั้งนี้และย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2468เป็นต้นมา การศึกษาพระปริยัติธรรม การที่หลวงย้ายมาจากวัดท่าทองมาอยู่วัดท่าถนน ซึ่งเป็นวัดของพระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่นั้น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระธรรมวินัยให้ละเอียดและถ่องแท้ หลวงปู่ได้มีความขยันเพียนตั้งใจศึกษาด้วยความวิริยะอุตสาหะภายในปีเดียวก็สอบได้นักธรรมตรี (พ.ศ.2466) ด้วยเหตุแห่งการศึกษาทางพระธรรมวินัยในสมัยนั้นยังไม่เจริญพอการศึกษามีเพียงชั้นนักธรรมตรีเท่านั้น ฉะนั้นการศึกษาของท่านต้องหยุดชะงักลง ตำแหน่งการปกครองและสมณศักดิ์ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ.2468 หลวงปู่ทองดำ มีตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์และสมณศักดิ์พัดยศดังนี้ – ปีพ.ศ.2468 อายุ 27 ปี พรรษา 5 ดำลงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าทอง – ปี พ.ศ.2478 ได้รับสมณศักดิ์แต่งตั้งเป็นพระธรรมธรฐานานุกรมของพระครูวิเชียรปัญญา มหามุณีศรีอุตรดิตถ์ เจ้าคณะอุตรดิถต์ – ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเป็นเจ้าคณะตำบลหาดกรวด-วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์และในปีนั้นได้เลือนสมณศักดิ์แต่งตั้งเป็นพระปลัดฐานานุกรม ของพระครูธรรมสารโกวิทย์ (ยศ)เจ้าคณะแขวงเมืองอุตรดิตถ์ – ปี พ.ศ. ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการ อ.เมืองอุตรดิตถ์ – ปี พ.ศ. 2487 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูธรรมมาภรณ์ประสาท – ปี พ.ศ.2497 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ – ปี พ.ศ.2498 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการจังหวัดอุตรดิตถ์ – ปี พ.ศ.2504 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชทานคณะชั้นสามัญนาม “พระนิมมานโกวิท” – ปี พ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ – ปี พ.ศ.2542 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จวบจนมรณภาพ การศึกษาด้านเวทย์มนต์คาถาอาคม ช่วงวัยเด็ก หลวงปู่ทองดำ ฐิตวณโณ ได้ติดตามบิดาล่องเรือขายยาสูบระหว่างอุตรดิตถ์ จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ บิดามารดาได้ฝากเป็นเด็กวัด เรียนหนังสือกับหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน จ.พิจิตร คอยรับใช้ใกล้ชิดท่านอนุญาตให้พักกุฎิเดียวกับท่าน หลวงพ่อเงินได้สอนสรรพวิชาอาคมไสยเวทต่าง ๆ คาถาที่หลวงพ่อเงินสอนไว้นั้นที่สำคัญคือ “นะโมพุทธายะ” (พระเจ้าห้าพระองค์) ซึ่งต่อมาหลวงปู่ได้ใช้เป็นคาถาประจำตัวของท่านตลออดมา นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้ศึกษาวิชาอาคมกับโยมปู่ของท่าน ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพัน เพื่อป้องกันตนเอง หลวงปู่ได้ใช้วิชานี้ปลุกเศกตัวเองก่อนจะขึ้นชกมวยทุกครั้ง โดยก่อนจะขึ้นชกมวยหลวงปู่จะบริกรรมคาถาจนรู้สึกว่าเนื้อเริ่มหน่าขึ้น (ของชึ้น)จึงจะชกได้ เมื่อขณะหลวงอุปสมบทแล้ว ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าถนน (วัดหลวงพ่อเพ็ชร) ซึ่งอยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ หลวงปู่ทองดำ ทราบว่าที่วัดกลางอยู่ห่างจากวัดท่าถนนทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพระภิกษุชราอยู่รูปหนึ่ง “หลวงพ่อทิม” ขาดการดูแลเอาใจใส่ หลวงปู่ทองดำ จึงได้ใช้เวลาว่างเดินทางจากวัดท่าถนนมาวัดกลางทุกวัน เพื่อปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อทิมด้วยจิตใจเมตตาและให้ความเคราพนับถึอ โดยหลวงปู่ทองดำ ได้ปฎิบัติภารกิจเป็นประจำทุกวัน ได้แก่ ตักน้ำ ขึ้นมาจากท่าแม่น้ำน่าน นำมาใส่ตุ่มไว้ให้หลวงพ่อทิมได้สรง เก็บกวาดกุฎิ ชำระล้างภาชนะต่างๆ ประจำมิขาด โดยหลวงปู่ทองดำ มิได้หวังสิ่งค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น แต่ทำไปเพราะจิตเมตตาแก่ภิกษุผู้สูงอายุโดยแท้ซึงจากการกระทำความดีของหลวงปู่ ทำให้หลวงพ่อทิมซึ่งขณะนั้นไม่มีผู้ใดทราบความเป็นมาหลวงพ่อทิมว่าเป็นพระภิกษุเชี่ยวชาญมนต์คาถาทุกด้าน ซึ่งกิตติศัพท์ ชาวบ้านย่านเกาะบางโพและตำบลใกล้เคียงทราบคือ “ตะกรุดโทน” ซึ่งหลวงพ่อปลุกเศกโดยดำลงน้ำจารึกอักขระบนแผ่นตะกรุดจนกว่าจะเสร็จ น่าเสียดายวันหนึ่งมีมนุษย์ผู้เขลาด้วยปัญญา นำตะกรุดที่ท่านมอบไปผูกคอสุนัขและยิงสุนัข แต่ปาฎิหารย์กระสุนด้านหมด เมื่อหลวงพ่อทิมเห็นสุขันวิ่งหลบใต้กุฎิจึงถอดออกจากคอสุนัข ท่านโกรธจึงประกาศงดให้เครื่องรางของขลังแก่ชาวบ้าน หลวงปู่เมื่อได้รับมอบวิชาและตำราจากหลวงพ่อทิมไปแล้ว ท่านหมั่นศึกษาภาวนาปฎิบัติ ทุกบท ทุกวรรคตอน จนสิ้นกระบวนความในตำรา จนชาวบ้าน บ้านเกาะต่างกล่าวกันว่าหลวงพ่อทิมไปเกิดที่วัดท่าทอง หลวงปู่ได้ใช้คาถาอาคมช่วยเหลือชาวบ้านตลอดมา ประพรมชาวบ้านที่แวะเวียนมากราบนมัสการท่าน ซึ่งน้ำมนต์นี้หลวงปู่จะปลุกเศกทุกวัน ใส่โองมังกรขนาดใหญ่ หลวงพ่อทองดำได้มรณภาพลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากการเข้ารับการรักษาอาการอาพาธด้วยโรคภาวะไตเสื่อมและติดเชื้อทางเดินหายใจ เมื่อเวลา 21:17 น. ของวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2548

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn

การชำระเงินและการติดต่อ